หน้าเว็บ

ประวัติขนมไทย

          ในอดีตคนไทยจะทำขนมเฉพาะในช่วงวาระสำคัญเท่านั้น เป็นต้นว่า งานทำบุญ เทศกาลสำคัญ หรือต้อนรับแขกสำคัญ เพราะขนมบางชนิดจำเป็นต้องใช้กำลังคนจำนวนมากและอาศัยระยะเวลาในการทำที่นานพอสมควร ส่วนใหญ่เป็น ขนบประเพณี เป็นต้นว่า ขนมงาน เนื่องในงานแต่งงาน ขนมพื้นบ้าน เช่น ขนมครก ขนมถ้วย ฯลฯ ส่วนขนมที่มำขึ้นในวังนั้นจะมีหน้าตาจุ๋มจิ๋มน่ารับประทาน มีความประณีตวิจิตรบรรจงในการจัดวางรูปทรงขนมสวยงาม

          ถ้าเป็นขนมไทยดั้งเดิม จะมีส่วนผสมคือ แป้ง น้ำตาล กะทิ เท่านั้น ส่วนขนมที่ใช้ไข่เป็นส่วนประกอบ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด เม็ดขนุน นั้น มีความเป็นมาจาก มารี กีมาร์ เดอ ปีนา (หรือชื่อในภาษาไทยที่ว่าท้าวทองกีบม้า) หญิงสาวชาวโปรตุเกส เป็นผู้คิดค้นขึ้นมา

          ส่วนขนมไทยที่นิยมทำกันทุกๆ ภาคของประเทศไทยในพิธีการต่างๆ ก็คือขนมที่มีส่วนประกอบของไข่ และผู้ที่รับประทานก็เชื่อกันว่าชื่อและลักษณะของขนมนั้นๆ แฝงไปด้วยความหมายที่ดีงามเอาไว้ เช่น ถ้ารับประทานฝอยทอง เพื่อหวังให้อยู่ด้วยกันยืดยาว มีอายุยืน ถ้ารับประทานขนมชั้นก็ให้ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน ถ้ารับประทานขนมถ้วยฟูก็ขอให้เจริญ ถ้ารับประทานขนมทองเอก ก็ขอให้ได้เป็นเอก เป็นต้น

          ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เริ่มมีการพิมพ์ตำราอาหารออกเผยแพร่ รวมไปถึงตำราขนมไทยด้วย จึงนับได้ว่าวัฒนธรรมขนมไทยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรครั้งแรกในสมัยนั้น ตำราอาหารไทยเล่มแรกคือแม่ครัวหัวป่าก์

          ในสมัยต่อมาเมื่อการค้าเจริญรุ่งเรืองขึ้น ในตลาดมีการทำขนมนานาชนิดมาค้าขาย และนับว่าเป็นยุคที่ขนมไทยได้รับความนิยม

          ในอดีตคนไทยในสมัยโบราณยังไม่รู้จักคำว่า "ขนม" ซึ่งเป็นอาหารอย่างหนึ่งที่ไม่ใช่กับข้าว แต่เป็นของกินหลังอาหาร หรืทานเล่น มีรสชาติหวานมัน อร่อยถูกปาก เพราะมีส่วนผสมของ แป้ง ไข่ กะทิ และน้ำตาล

          เชื่อกันว่าผู้ที่ประดิษฐ์คิดค้นขนมไทยออกมาเผยแพร่จนเป็นที่นิยมกันอย่างกว้างขวางสืบต่อมาจนทุกวันนี้มีชื่อว่า "ท้าวทองกีบม้า" ซึ่งท้าวทองกีบม้ามีชื่อเต็มว่า "มารี กีมาร์ เด ปนา" มารีกีมาร์แต่งงานกับ คอนสแตนติน ฟอลคอน ชาวกรีก ที่เข้ามารับราชการในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฟอลคอน ตั้งใจทำงานดีจนเป็นที่โปรดปราน จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นออกพระฤทธิ์กำแหง ตำแหน่งนี้ทำให้ ฟอลคอนร่ำรวยขึ้นมาอย่างรวดเร็ว ท้าวทองกีบม้าจึงมีชีวิตความเป็นอยู่ที่สุขสบายหรูหรา

          แต่ด้วยความคิดมิชอบของฟอลคอลที่ติดต่อกับฝรั่งเศสเป็นการลับให้ยึดสยามเป็นอาณานิคม จึงถูกจับในข้อหากบฏ จึงถูกเรียกตำแหน่งคืน ริบทรัพย์ และถูกประหารชีวิต ส่วนมารีต้องถูกคุมขังเป็นเวลานานถึง 2 ปี  แต่หลังได้รับการปลดปล่อยเธอได้รับมอบหมายให้มีหน้าที่ทำอาหารหวานประเภทต่างๆ ส่งเข้าไปในพระราชวังตามกำหนด การทำหน้าที่จัดหาอาหารหวานส่งเข้าพระราชวังทำให้ท้าวทองกีบม้าต้องประดิษฐ์คิดค้นขนมประเภทต่างๆ ขึ้นใหม่อยู่ตลอดเวลา จากต้นตำรับเดิมของชาติต่างๆ โดยเฉพาะโปรตุเกส ซึ่งเป็นชาติกำเนิดของเธอ ท้าวทองกีบม้าได้พัฒนาโดยนำเอาวัตถุดิบพื้นถิ่นที่มีในประเทศสยามเข้ามาผสมผสาน จนทำให้เกิดขนมที่มีรสชาติอร่อยถูกปากขึ้นมามากมาย เมื่อจัดส่งเข้าไปในพระราชวังก็ได้รับความชื่นชมอย่างมาก ถึงขนาดถูกเรียกตัวเข้าไปรับราชการในพระราชวังในตำแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องต้น มีหน้าที่ดูแลเครื่องเงินเครื่องทองของหลวง เป็นหัวหน้าเก็บพระภูษาฉลองพระองค์ และเก็บผลไม้เสวย  ซึ่งเธอก็ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต จนเป็นที่ยกย่องชื่นชม มีเงินคืนท้องพระคลังปีละมากๆ ด้วยนิสัยเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่และมีเมตตาท้าวทองกีบม้าจึงถ่ายทอดตำรับการปรุงขนมหวานแบบต่างๆ ให้แก่สตรีที่ทำงานใต้บังคับบัญชาของเธอจนเกิดความชำนาญ และสตรีเหล่านี้เมื่อกลับไปเยี่ยมพ่อแม่ญาติพี่น้องยังบ้านเกิดของตนก็ได้นำตำรับขนมหวานไปเผยแพร่ต่ออีกทอดหนึ่ง จึงทำให้ตำรับขนมหวานที่เคยอยู่ในพระราชวังแผ่ขยายออกสู่ชนบทมากขึ้นเรื่อยๆ ในที่สุดก็กลายเป็น ขนมพื้นบ้านของไทย

ที่มา: http://gm.ac.th/Kornkanok/content.php?view=20140707185838YCHf9nY



Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น