หน้าเว็บ

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ขนม” จัดได้ว่าเป็นสิ่งที่อยู่คู่กับอาหารไทยมาอย่างยาวนานตั้งแต่สมัยอดีต ดังคำที่หลายคนมักเคยได้ยินว่า ทานของหวานล้างปาก” หลังจากที่ได้ทานอาหารคาวกันไปแล้ว นอกจากขนมไทยจะมีรสชาติที่อร่อยละมุนลิ้นและมีรูปร่างหน้าตาที่งดงามชวนให้ผู้ที่พบเห็นอยากรับประทานแล้วนั้น เรายังสามารถทำการประยุกต์ปรับปรุงสูตรและรูปร่างของตัวขนมเพื่อเพิ่มมูลค่าจากเดิมได้อย่างมากเลยทีเดียว
แต่เดิมนั้นขนมไทยเป็นขนมที่ใช้ส่วนประกอบของวัสดุที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาปรุงแต่งเป็นของหวานชนิดต่างๆได้มากหลายรูปแบบ เพราะวิถีชีวิตของคนไทยนั้นเป็นสังคมเกษตรกรรมที่มีผลิตผลทางธรรมชาติอยู่มากมาย เช่น กล้วย อ้อย มะม่วง รวมไปถึงข้าวเจ้า ข้าวเหนียว ฯลฯ ที่สามารถปรุงเป็นขนมได้หลายชนิด เช่น กะทิที่ได้จากการเก็บมะพร้าวมาขูดคั้นน้ำกะทิ หรือการนำเอาข้าวมาโม่เป็นแป้ง แล้วนำไปใช้ทำขมนต่างๆ เราอาจถือขนมเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่บ่งบอกว่าคนไทยมีลักษณะนิสัยอย่างไร เพราะขนมแต่ละชนิดล้วน มีเสน่ห์ แสดงให้เห็นถึงความละเอียดอ่อน ประณีต วิจิตรบรรจงในรูปลักษณ์ ตั้งแต่วัตถุดิบที่ใช้ วิธีการทำที่กลมกลืน ความพิถีพิถัน สีที่ให้ความสวยงาม มีกลิ่นหอม รสชาติของขนมที่ละเมียดละไมชวนให้รับประทาน

           โดยขนมไทยหลากหลายชนิดผู้ทำสามารนำมาใส่ความคิดสร้างสรรค์ของตนเองโดยการ แปลงโฉมหน้าตาให้แปลกใหม่ สวยงาม ขนาดชิ้นพอดีคำ สะดวกต่อการกิน ขณะที่รสชาติยังคงความละมุน อร่อย หอมหวานแบบไทย หรืออาจจะนำประเด็นด้านสุขภาพมาปรับปรุงสูตรขนมให้ดีต่อสุขภาพ โดยการลดความหวานให้น้อยลงและอาจนำเอาสมุนไพรไทยหรือธัชพืชมาใช้เป็นส่วนประกอบของตัวขนม ซึ่งนับเป็นไอเดียเพิ่มมูลค่าสินค้า ขยายสู่ตลาดใหม่ สำหรับเป็นสินค้าของฝากของขวัญมอบในงานเทศกาลต่างๆ แต่สิ่งที่สำคุญที่ต้องตระหนักถึงคือแม้รูปโฉมภายนอกจะเปลี่ยนแปลงไป แต่สำหรับด้านรสชาติแล้ว ยังต้องคงเอกลักษณ์ความหอมหวานของขนมไทยแท้ๆ ซึ่งเป็นรสชาติที่คนส่วนใหญ่ชื่นชอบและนิยมอยู่เสมอเอาไว้ด้วย



Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.